DIProm Center 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 เข้าติดตามการดำเนินงานของผู้รับจ้าง กิจกรรมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และกิจกรรม การประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการธุรกิจ
วันที่ 18-19 กรกฎาคม 2565DIProm Center 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 มอบหมายให้ นางณัฐญา สืบเสน นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ นางปรางทิพย์ บุญสา นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นายศุภกิจ จินดากร นักวิชาการอุตสาหกรรม(คอมพิวเตอร์) และ นายวัฒนา บัวจีน พนักงานขับรถยนต์ ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เพื่อเข้าติดตามการดำเนินงานของผู้รับจ้าง กิจกรรมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และกิจกรรม การประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการธุรกิจ จำนวน 3 กิจการ ดังนี้1.บจก.เจริญน้ำมันปาล์ม - first visit วันที่ 22 มิ.ย. 65 มี pain point หลักคือเรื่องสตอร์ค วัสดุอุปกรณ์ และอะไหล่- ให้คำปรึกษาไปแล้ว 1ครั้ง คือวันที่ 23 มิ.ย. 65 เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวpower bi พร้อมดูตัวอย่างการจัดทำและวิเคราะห์ข้อมูล2. บจก.อแอลปาล์ม- first visit วันที่ 22 มิ.ย. 65 มี pain point หลักเรื่อง PM เครื่องจักร รวมไปถึงการวางแผนการจัดซื้อ วัสดุ อุปกรณ์และอะไหล่- ให้คำปรึกษาครั้งที่ 1 วันที่ 24 มิ.ย. 65 เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ power bi พร้อมดูตัวอย่างจัดทำ/วิเคราะห์ข้อมูล ให้คำปรึกษา ครั้งที่ 2-3 วันที่ 15-16 ก.ค. 65 ให้คำปรึกษาในการเก็บรวบรวมข้อมูลของเครื่องจักรแต่ละตัวและดูข้อมูลการซ่อมบำรุงย้อนหลังไป 1เดือน เพื่อนำข้อมูลมาสูการวิเคราะห์ประมวลผลการซ่อมบำรุงเครื่องจักพร้อมวางแผนการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ และอะไหล่ เพื่อแก้ปัญหาการหยุดทำงานของเครื่องจักร3. บจก.สยามรุ่งพาราวู้ด ที่ปรึกษาเข้าให้คำปรึกษา Man-day ที่ 2 ใช้ซอฟแวร์ Power BI เพื่อดูประสิทธิภาพการเลื่อยไม้ของบุคลากรต่อไม้ท่อนที่เข้าของแต่ละโต๊ะเลื่อย จนถึง % ของเสียหลังออกจากห้องอบ
20 ก.ค. 2022
DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดตรัง ครั้งที่ 2/2565
???? วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 : DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี ????‍????นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10????เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดตรัง ครั้งที่ 2/2565 ณ ห้องประชุมนารายณ์ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง ????โดยมี นายภูวนัฐ สมใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานอนุกรรมการในการประชุมครั้งนี้ ????ทั้งนี้ จากการประชุมคณะอนุกรรมการฯ สรุปได้ดังนี้ ????รายงานความคืบหน้า โครงการสินเชื่อสร้างโอกาสเสริมสภาพคล่อง SME พ.ศ.2565 โดยรับคำขอสินเชื่อ 19 ราย วงเงิน 37.1 ล้านบาท ได้รับอนุมัติแล้ว 7 ราย เป็นเงิน 12.3 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการวงเงินประมาณ 17.1 ล้านบาท และโครงการสินเชื่อเพิ่มศักยภาพ SME พ.ศ.2565 รับคำขอสินเชื่อ 10 ราย วงเงิน 94 ล้านบาท ได้รับอนุมัติแล้ว 5 ราย เป็นเงิน 35 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการวงเงินประมาณ 20 ล้านบาท ????เรื่องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ????เรื่องที่ 1 กรณีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงทดแทนเครื่องจักรของลูกค้า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทวีลาภการประมง ซึ่งได้รับเงินกู้กองทุนไป จำนวน 10 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์และรถยนต์ ซึ่งเมื่อได้รับเงินกู้ไปแล้วไม่สามารถจัดซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์และรถยนต์ ได้ตามคำขอ ทางห้างหุ้นส่วนจำกัด ทวีลาภการประมง จึงมีความประสงค์ขอเปลี่ยนเครื่องจักรอุปกรณ์บางรายการที่ไม่เป็นไปตามการอนุมัติวงเงินสินเชื่อ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และข้อเท็จจริงในกระบวนการผลิตในปัจจุบัน ซึ่งผลจากการประชุมฯ มีมติให้เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินโดยไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์ที่กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐกำหนดไว้ ซึ่งเดิมมีแผนจะจัดซื้อ 1.เครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์ LINE:RAWMATERIAL จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 2.05 ล้านบาท 2.รถยนต์ ฮีโน่ 2 คัน เป็นเงิน 4.5 ล้านบาท 3.ตู้เย็นและเครื่องทำความเย็นเพื่อติดตั้งกับรถยนต์ฮีโน่ 2 ชุด เป็นเงิน 2.2 ล้านบาท 4.รถกระบะ 1 คัน เป็นเงิน 0.5 ล้านบาท 5.ตู้เย็นและเครื่องทำความเย็นเพื่อติดตั้งรถกระบะ 1 ชุด เป็นเงิน 0.25 ล้านบาท 6.เครื่องตรวจจับโลหะ 1 ชุด เป็นเงิน 0.5 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 10 ล้านบาท แต่ขณะนี้ทางห้างหุ้นส่วนจำกัด ทวีลาภการประมง ได้ดำเนินการจัดซื้อรายการที่ 2 รถยนต์ ฮีโน่ 1 คัน เป็นเงิน 2.25 ล้านบาท และรายการที่ 3 ตู้เย็นและเครื่องทำความเย็นเพื่อติดตั้งกับรถยนต์ฮีโน่ 1 ชุด เป็นเงิน 1.1 ล้านบาท รายการที่ 6 เครื่องตรวจจับโลหะ 1 ชุด เป็นเงิน 0.5 ล้านบาท รวมใช้เงินกองทุนไปทั้งสิ้น 3.85 ล้านบาท ส่วนรายการที่เหลือยังไม่มีการจัดซื้อ ทางห้างหุ้นส่วนจำกัด ทวีลาภการประมง จึงขอเปลี่ยนเป็นซื้อทรัพย์สินทดแทนเป็น 1.เครื่องผลิตน้ำแข็งหลอด พร้อมอุปกรณ์ฐานรากและโครงสร้าง เป็นเงิน 4.1 ล้านบาท 2.SILENTCUTTER เป็นเงิน 1.2 ล้านบาท 3.REFINER เป็นเงิน 1.05 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 6.35 ล้านบาท ซึ่งทางคณะอนุกรรมการฯ เห็นว่าการขอเปลี่ยนรายการทรัพย์สินทดแทนที่จะซื้อนั้นไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์ที่กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐกำหนดไว้ จึงมีมติอนุมัติตามเสนอ ????เรื่องเสนอที่ 2 ลูกค้าราย บริษัท เซ็นสตีล จำกัด ได้รับอนุมัติวงเงินกู้ จำนวน 10 ล้านบาท ปัจจุบันลูกค้าได้รับการเบิกจ่ายเงินกู้ไปแล้ว 7 ล้านบาท ค้างเบิก 3 ล้านบาท ซึ่งการเบิกจ่ายส่วนที่เหลือ เกินกำหนด 18 เดือนหลังวันลงนามในนิติกรรมสัญญา อ้างตามคำสั่งธนาคาร เรื่องแนวปฏิบัติสินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐหลังการอนุมัติสินเชื่อ ให้ขออนุมัติขยายระยะเวลาต่อคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนประชารัฐประจำจังหวัด ทางที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ จึงมีมติอนุมัติให้ขยายระยะเวลาในการเบิกจ่ายต่อไป
20 ก.ค. 2022
DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี ร่วมเป็นกรรมการในกิจกรรมการนำเสนอโครงการธุรกิจเกษตร (Business Model Project) ของ Young Smart Farmer ในรูปแบบ Pitching เพื่อให้ข้อคิดเห็นและคำแนะนำในการนำเสนอธุรกิจของ Young Smart Farmer
????วันที่ 21 มิถุนายน 2565 : DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10????มอบหมายให้ นางสาวภาวิณี ศรีอรุณพรรณรา ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ ????เข้าร่วมเป็นกรรมการในกิจกรรมการนำเสนอโครงการธุรกิจเกษตร (Business Model Project) ของ Young Smart Farmer ในรูปแบบ Pitching เพื่อให้ข้อคิดเห็นและคำแนะนำในการนำเสนอธุรกิจของ Young Smart Farmer จำนวน 14 โครงการ จากตัวแทนใน 14 จังหวัดภาคใต้ ณ โรงแรมวังใต้ อ.เมือง จ. สุราษฎร์ธานี โดยโครงการเปิดเวทีเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับภาคใต้ จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ????พัฒนา Young Smart Farmer สู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรที่มีการพัฒนาโครงการธุรกิจเกษตรตามหลักการพิจารณาของแหล่งเงินทุน ????สร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เกิดการเชื่อมโยงและเสนอขอรับการสนับสนุนเงินทุน ????ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับภาคใต้
21 มิ.ย. 2022
DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี กำกับติดตามการดำเนินงานของผู้รับจ้าง กิจกรรมการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Cluster) คลัสเตอร์ไม้ยางพารา จังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่ 14 มิถุนายน 2565 : DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 มอบหมายให้ นางณัฐญา สืบเสน ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ ,น.ส.จีรวรรณ สิทธิเชนทร์ ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรม และนายณรงค์รัตน์ อมรรัตนโสภาค ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ลงพื้นที่สถานประกอบการ กลุ่มคลัสเตอร์ไม้ยางพารา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีที่ 2 ได้แก่ บริษัท ภัทรพาราวู้ด ถ้ำพรรณรา จำกัด และ บริษัท นาวาพาราวู้ด จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานของผู้รับจ้าง กิจกรรมการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Cluster) คลัสเตอร์ไม้ยางพารา จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการ 6.2-1 การยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 ซึ่งผลที่ได้รับจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ทางผู้รับจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ได้อธิบายรายละเอียดต่างๆ ในการนำข้อมูลของทางโรงงานมาใช้ประโยชน์ และแนะนำวิธีการลงข้อมูลทำ KPIs สำหรับกิจกรรม Benchmarking ของกลุ่มคลัสเตอร์ไม้ยางพารา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีที่ 2 เพื่อจัดทำข้อมูลและกราฟเปรียบเทียบข้อมูลด้านของเสีย ด้านต้นทุน และด้านพลังงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราในกลุ่มต่อไป ประกอบด้วย 6 KPIs ดังนี้ KPI-1 การใช้พลังงานไฟฟ้า KPI-2 การใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำ KPI-3 ประสิทธิภาพของบุคลากร KPI-4 เปอร์เซ็นของเสียขบวนการผลิตหลังอบ KPI-5 อัตราการอบไม้ 4 หุน-1 นิ้ว KPI-6 การใช้เชื้อเพลิงของรถโฟล์คลิฟท์
15 มิ.ย. 2022
DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี เข้าร่วมพิธีปิดกิจกรรมการฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาบุคลากร กสอ. สู่การเป็นนักส่งเสริมการตลาดออนไลน์ (DIProm Online Marketeer) รุ่นที่ 2”
วันที่ 13 มิถุนายน 2565 : DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 พร้อมด้วยนักส่งเสริมการตลาดออนไลน์ (DIProm Online Marketeer) รุ่นที่ 2 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 เข้าร่วมพิธีปิดกิจกรรมการฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาบุคลากร กสอ. สู่การเป็นนักส่งเสริมการตลาดออนไลน์ (DIProm Online Marketeer) รุ่นที่ 2” โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีปิดกิจกรรมการฝึกอบรมหลักสูตร พร้อมทั้งประกาศผลรางวัลและกล่าวแสดงความยินดีแก่เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ และนายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กล่าวรายงาน ผ่านระบบออนไลน์ทางแอปพลิเคชั่น Zoom meeting ทั้งนี้ ผลจากการจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรของดีพร้อมดังกล่าว ส่งผลให้มีจำนวนยอดผู้เข้าถึงใน Facebook Page : DIPROM Station ของดีพร้อม จากเดิมร้อยละ 450.3 จำนวนยอดขายของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมหลักสูตรเพิ่มขึ้น 673,503 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ภายในระยะเวลาเพียง 2 เดือน และเกิดความคุ่มค่าของหลักสูตรคิดเป็น 5.2 เท่า เมื่อเทียบกับงบประมาณของการดำเนินโครงการ รวมถึงบุคลากรของดีพร้อมที่เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้มีความรู้ด้านการตลาดเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 37.6 ตลอดจนเกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานภายในดีพร้อม รวมทั้งประชาสัมพันธ์ DIPROM CENTER สามารถสร้างการรับรู้ให้บุคคลภายนอกได้เข้าถึงกิจกรรมของดีพร้อมมากขึ้นอีกด้วย และในโอกาสนี้ อธิบดีดีพร้อม ได้ให้เกียรติกล่าวปิดและแสดงความยินดีแก่เจ้าหน้าที่ดีพร้อม พร้อมทั้งประกาศผลรางวัลต่าง ๆ ประกอบด้วย 1. รางวัล Best Sales แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1.1 ด้านเปอร์เซ็นยอดขายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ 1)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 4 2)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 9 และ 3)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 1.2 ด้านมูลค่ายอดขายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ 1)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 7 2)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 และ 3)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 2. รางวัล Poppular Vote ได้แก่ 1)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 2)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 และ 3)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 3. รางวัล TOP VIEWER ได้แก่ 1)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 2 2)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 และ 3)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 3 4. รางวัลชนะเลิศสุดยอดนักส่งเสริมการตลาดออนไลน์ ได้แก่ 1)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 2 2)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 และ 3)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 7 และ 5. รางวัลพิเศษ สุดยอดกลุ่มนักเรียนดีเด่น ได้แก่ 1)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 2)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 3 3)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 4)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 7 และ 5)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11
15 มิ.ย. 2022
DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ประจำปี 2564
โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ประจำปี 2564 ซึ่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ไดัรับเงินจัดสรรงบประมาณมาดำเนินกิจการ จำนวน 4 กิจการ ด้วยกัน โดยส่งเข้าประกวดองค์กรต้นแบบ จำนวน 2 กิจการ คือ บริษัท ท่าชนะน้ำมันปาล์ม จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี และบริษัท ไทยอินโด ปาล์มออยล์ แฟคทอรี่ จำกัด จังหวัดกระบี่ ในขณะนี้อยู่ระหว่างการตัดสินจากคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกวิสาหกิจต้นแบบ จึงขอเรียนเชิญพี่ ๆ น้อง ๆ DIPROM Center10 ฝากกดไลค์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับสถานประกอบการ ทั้งนี้ยอดการกดไลค์ กดแชร์ ยังเป็นส่วนหนึ่งของรางวัลที่จะได้รับจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุข (สสส.) ขอบคุณครับ(คณะทำงาน Shap Agent 10) https://youtu.be/cwD4m5lhtPQ https://youtu.be/9vff68SW35s
15 มิ.ย. 2022
DIPROM CENTER 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 เข้าร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานีและคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมหารือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชากัญชา พร้อมชง ณ สถานประกอบการ รักษ์ไทย โดยหารือเรื่องการพัฒนาสูตร ส่วนผสมต่างๆ
วันที่ 8 มิถุนายน 2565 DIPROM CENTER 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 มอบหมายให้ นายชัยยศ ช้างชาวนา นักวิชาการอุตสาหกรม(ออกแบบผลิตภัณฑ์) เข้าร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานีและคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมหารือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชากัญชา พร้อมชง ณ สถานประกอบการ รักษ์ไทย โดยหารือเรื่องการพัฒนาสูตร ส่วนผสมต่างๆ โดย คณะอาจารย์มหาวิทยาลัยราชฎัชเป็นผู้พัฒนาศึกษาวิจัยเพื่อทำการทดสอบปริมาณของสาร THC และ CBD ไม่ให้เกินค่ามาตราฐานตามกฤหมายกำหนด จากห้องแลปปฎิบัติการ และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 รับหน้าที่ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับ ผลิตภัณฑ์ ชากัญชา ที่เมื่อผ่านการพัฒนาสูตรจากคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยราชฎัชเสร็จสิ้นแล้ว โดย ผู้ประกอบการ รักษ์ไทย มีเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชากัญชาเพื่อจำหน่ายตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ
08 มิ.ย. 2022
DIPROM CENTER 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ศึกษาดูงาน ภายใต้กิจกรรมการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ แบบ “ดีพร้อม DIPROM” โครงการการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ
วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 DIPROM CENTER 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 มอบหมายให้ กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ภายใต้กิจกรรมการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ แบบ “ดีพร้อม DIPROM” โครงการการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ สวนลุงสงค์ ต.บางใบไม้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง สามารถเป็นต้นแบบในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจ หรือเริ่มต้นทำธุรกิจโดย“สวนลุงสงค์” เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำมันมะพร้าวบางใบไม้ ส่งเสริมการปลูกมะพร้าวแบบอินทรีย์ที่มีมาตฐาน เพื่อนำผลผลิตมะพร้าวมาสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผ่านการวิจัย พัฒนา พร้อมดึงเทคโนโลยีเข้ามาใช้ร่วมกับภูมิปัญญาดั้งเดิม ผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นผลสำเร็จ นำมาสู่การแตกไลน์ผลิตเป็นเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพเกือบ 20 ชนิด แบรนด์ “พร้าวไทย (Prow Thai) ให้ความสำคัญกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล กระทั่งสามารถนำไปจำหน่ายบนเครื่องการบินไทย ตลอดจนในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ นอกจากนั้น ยังนำวัสดุเหลือใช้จากมะพร้าวมารังสรรค์เป็นชิ้นงานของใช้ เครื่องประดับตกแต่งเป็นการสร้างมูลค่า สร้างรายได้มิให้สูญเปล่า โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ จำนวน 24 คน และช่วงบ่ายพิธีมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายสุริยา โพธิยา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน เป็นผู้มอบวุฒิบัตร ให้ผู้เข้าร่วมผ่านอบรมฯ ณ ห้อง Co working space ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10
23 พ.ค. 2022
DIPROM CENTER 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ภายใต้กิจกรรมการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ แบบ “ดีพร้อม DIPROM” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 DIPROM CENTER 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 มอบหมายให้ กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ภายใต้กิจกรรมการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ แบบ “ดีพร้อม DIPROM” โครงการการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ สวนลุงสงค์ ต.บางใบไม้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง สามารถเป็นต้นแบบในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจ หรือเริ่มต้นทำธุรกิจโดย“สวนลุงสงค์” เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำมันมะพร้าวบางใบไม้ ส่งเสริมการปลูกมะพร้าวแบบอินทรีย์ที่มีมาตฐาน เพื่อนำผลผลิตมะพร้าวมาสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผ่านการวิจัย พัฒนา พร้อมดึงเทคโนโลยีเข้ามาใช้ร่วมกับภูมิปัญญาดั้งเดิม ผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นผลสำเร็จ นำมาสู่การแตกไลน์ผลิตเป็นเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพเกือบ 20 ชนิด แบรนด์ “พร้าวไทย (Prow Thai) ให้ความสำคัญกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล กระทั่งสามารถนำไปจำหน่ายบนเครื่องการบินไทย ตลอดจนในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ นอกจากนั้น ยังนำวัสดุเหลือใช้จากมะพร้าวมารังสรรค์เป็นชิ้นงานของใช้ เครื่องประดับตกแต่งเป็นการสร้างมูลค่า สร้างรายได้มิให้สูญเปล่า โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ จำนวน 24 คน และช่วงบ่ายพิธีมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายสุริยา โพธิยา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน เป็นผู้มอบวุฒิบัตร ให้ผู้เข้าร่วมผ่านอบรมฯ ณ ห้อง Co working space ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10
23 พ.ค. 2022
DIProm Center 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ประชุมเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (Service Provider @Network) SP@N Surat
วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น. DIProm Center 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 มอบหมายให้กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ นำโดย นายเติมศักดิ์ เอี่ยนเหล็ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นางสาวภาวิณี ศรีอรุณพรรณรา นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นางสุระพิณ อินทสมบัติ นักวิชาการอุตสาหกรรม และนายศุภกิจ จินดากร นักวิชาการอุตสาหกรรม(คอมพิวเตอร์) จัดประชุมเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (Service Provider @Network) SP@N Surat ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบส่งเสริม SME ครั้งที่ 2/2565 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม SP@N Surat ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดย สมาชิกเครือข่าย SP ที่เข้าประชุมได้ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานของเครือข่าย ซึ่งมีหัวข้อการพัฒนาเครือข่าย หลักๆ ดังนี้ 1. การพัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็ง 2. การพัฒนาองค์ความรู้ของสมาชิกเครือข่ายเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาแนะนำ 3. การพัฒนากระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำแก่วิสาหกิจ 4. การสร้างสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือให้กับเครือข่าย 5. การสร้างแบรนด์ของเครือข่ายให้เป็นที่รู้จัก ในการนี้มีผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP) เข้าร่วมประชุมฯ จำนวน 24 คน
23 พ.ค. 2022