Diprom Center 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 การลงพื้นที่เพื่อศึกษาดูงาน ณ สถานประกอบการ ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงอุตสาหกรรม (ค.ต.ป.อก.)
วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2567 : DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี การลงพื้นที่เพื่อศึกษาดูงาน ณ สถานประกอบการ ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงอุตสาหกรรม (ค.ต.ป.อก.) คณะ ค.ต.ป.อก. สักการะวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เพื่อความเป็นสิริมงคล ในคราวเดินทางลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของ ศภ.10 กสอ. และศึกษาดูงาน ณ สถานประกอบการ ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ศภ.10 กสอ. นำทีม ค.ต.ป.อก. ลงพื้นที่ บจก.วิยะเครป โปรดักส์ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมเสริมแกร่งภาคการผลิตให้ดีพร้อมไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Factory on Cloud) ภายใต้โครงการ 6.1-1 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ของ ศภ.10 กสอ. โดยนายธวัชชัย พูนช่วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บจก.วิยะเครป โปรดักส์ เป็นผู้นำเสนอข้อมูลกิจการ ความเป็นมาของบริษัทฯ ผลิตภัณฑ์หลัก กระบวนการผลิต ข้อมูลสัดส่วนด้านการตลาด และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินกิจการที่นำมาสู่ความต้องการและสนใจเข้ารับบริการภายใต้กิจกรรม Smart Factory on Cloud ของ ศภ.10 กสอ. เนื่องจากวัตถุดิบและสินค้าที่มีการจัดเก็บในห้องเย็นมีมูลค่าสูงมาก (มูลค่าประมาณ 20 ล้านบาท/ห้อง) ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติของอุณหภูมิภายในห้องเย็น จะส่งผลกระทบและเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก จึงมีความต้องการระบบตรวจวัดอุณหภูมิภายในห้องเย็น การจดบันทึกข้อมูลอุณหภูมิอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแจ้งเตือนกรณีอุณหภูมิผิดปกติ สามารถตรวจสอบอุณหภูมิได้ตลอดเวลาโดยสะดวกผ่านมือถือ หากห้องเย็นมีปัญหาก็จะรู้ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ช่วยลดปัญหาและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งขณะนี้ ทางทีมงาน ศภ.10 กสอ. ผู้รับผิดชอบโครงการฯ อยู่ระหว่างการติดตั้ง และทดสอบระบบตรวจวัดอุณหภูมิภายในห้องเย็น และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ โดยมีสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อตามที่บริษัทฯ ต้องการ อาทิ กรณีที่มีการ Defrost อยากให้มีไฟแสดงให้เห็น ระบบ Alarm เตือน การดูรายงานย้อนหลัง การสั่งเปิด-ปิดการทำงานผ่านมือถือ ทั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการให้บริการของ ศภ.10 กสอ. ภายใต้โครงการ/กิจกรรมนี้ จะมีส่วนช่วยตอบสนองความต้องการ และแก้ไขปัญหาของบริษัทฯ ได้อย่างตรงประเด็น สามารถลดความสูญเสีย เพิ่มรายได้ และนำไปสู่การต่อยอดประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้านอื่น ๆ ภายในบริษัทฯ เพิ่มเติมต่อไปได้ โดย บจก.วิยะเครป โปรดักส์ ได้กล่าวขอบคุณ ศภ.10 กสอ. ที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือบริษัทฯ ตั้งแต่เริ่มต้นกิจการเรื่อยมา จากการให้ข้อเสนอแนะไอเดีย และให้คำปรึกษาแนะนำด้านต่าง ๆ อาทิ การค้นหาวัตถุดิบจากต่างประเทศ การฝึกอบรมให้ความรู้ในการทำตลาดออนไลน์ การสร้างเพจ facebook ของบริษัท และการไลฟ์สดขายสินค้า เป็นต้น ทำให้บริษัทฯ ผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ มาได้ แม้ในช่วงวิกฤติโควิดที่ผ่านมา จากนั้น คณะ ค.ต.ป.อก. ได้เข้าเยี่ยมชมไลน์การผลิตปูกระป๋อง รวมถึงโซนธนาคารปูม้าเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปูม้าคืนสู่ธรรมชาติต่อไป ต่อมาในช่วงบ่าย คณะ ค.ต.ป.อก. ลงพื้นที่ บจก.ท่าชนะน้ำมันปาล์ม อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ประกอบกิจการโรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ/ผลิตเมล็ดในอบแห้ง/ผลิตกะลาปาล์ม/ ผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาผลิตภาพสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูปเป้าหมาย ภายใต้โครงการ 3.2-1 การยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ของ ศภ.10 กสอ. โดยนายชลอ ธรรมทอง ผู้จัดการโรงงาน เป็นผู้แทนนำเสนอข้อมูลบริษัทฯ การดำเนินงาน/กระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม มาตรฐานที่ได้รับ การช่วยเหลือชุมชนรอบโรงงาน และนโยบาย/มาตรการการจัดการด้านพลังงาน ซึ่งบริษัทฯ มีความต้องการและคาดว่าผลที่จะได้รับจากการเข้ารับบริการของทาง ศภ.10 กสอ. จะทำให้การจัดทำข้อมูลของการสกัดน้ำมันปาล์มให้เป็นปัจจุบันและใช้เป็นฐานข้อมูลแก่บริษัท โดยการจัดทำสมดุลมวลของปาล์มน้ำมัน (Mass Balance) และการแก้ปัญหาเพื่อให้ได้ผลผลิตก๊าซชีวภาพเพียงพอต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการวิเคราะห์ความสามารถของเชื้อจุลินทรีย์ (Specific methanogenic activity) ทั้งนี้ ประธาน ค.ต.ป.อก. และคณะกรรมการได้ให้คำแนะนำในการบูรณาการร่วมกับกลุ่มคลัสเตอร์น้ำมันปาล์มสุราษฎร์ธานี ให้มีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการฝึกอบรม และนำระบบมาตรฐานต่างๆ เพื่อการพัฒนากิจการต่อไป
08 มี.ค. 2024
Diprom Center 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 การประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ศภ.10 กสอ. ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงอุตสาหกรรม (ค.ต.ป.อก.)
วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2567 : DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี การประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ศภ.10 กสอ. ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงอุตสาหกรรม (ค.ต.ป.อก.) นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ศภ.10 กสอ. กล่าวต้อนรับและนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินโครงการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร และโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566ไปพลางก่อน โดยมีนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ประธาน ค.ต.ป.อก. เป็นประธานในการประชุม คณะกรรมการ ประกอบด้วย นางรัชดา อิสระเสนารักษ์ นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง นางสาวสุภัตรา เปี่ยมวัตถาภรณ์ และนางสาวกองประภา นครังสุ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ ตสน.สปอ. และ กต.กง.กสอ. เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุมประดู่แดง ชั้น 3 อาคารศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๑๐ จ.สุราษฎร์ธานี โดยการประชุมครั้งนี้ นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม กรรมการ ค.ต.ป.อก. ได้กล่าวถึงบทบาทภารกิจของคณะฯ รวมถึงวัตถุประสงค์ในการลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมของ ศภ.10 กสอ. ว่าเป็นการตรวจสอบผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดกระทรวง ซึ่งมีประเด็นในการตรวจสอบและประเมินผลตามห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และตามภารกิจของกระทรวง (Function) ทั้งนี้ ประเมินการทำงานของส่วนราชการว่าได้ดำเนินงาน โดยยึดหลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย (1) ประสิทธิภาพ (Efficiency) (2) ประสิทธิผล (Effectiveness) (3) ความโปร่งใส (Transparency) (4) การมีส่วนร่วม (Participation) และ (5) ความคุ้มค่า (Value for Money) อย่างไรก็ดี ค.ต.ป.อก. ได้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์กับ ศภ.10 กสอ. ในหลายประเด็น อาทิเช่น การกำหนดคำนิยามให้ชัดเจน อาทิ “เครื่องทุ่นแรง”/ “อาหารแห่งอนาคต” เรื่องการเลือกใช้คำ/ภาษาให้เหมาะสม อาทิ “การพัฒนามาตรฐาน” ควรเป็น “การนำมาตรฐานไปพัฒนา” การบูรณาการทำงานกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาในพื้นที่ โดยการ MoU แทนการทำสัญญาจ้าง เพื่อป้องกันการถูกปรับลดงบประมาณ รวมถึงการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาของ กสอ. เป็นต้น เพื่อ ศภ.10 กสอ. นำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการทำงานและพัฒนาต่อยอดในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนี้ คณะ ค.ต.ป.อก. ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 หรือ ศูนย์ ITC ของ ศภ.10 กสอ.และรับชมสาธิตการใช้เครื่องจักรภายในศูนย์ ITC รวมทั้งได้ทดลองชิมขมิ้นชันน้ำผึ้งมะนาว ซึ่งมีวัตถุดิบหลักเป็นขมิ้นชันสดที่ผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นขมิ้นผง โดยใช้เครื่องจักรภายในศูนย์ ITC (เครื่องอบแห้ง และเครื่องสเปรย์ดราย)
07 มี.ค. 2024
Diprom Center 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ข้าร่วมกิจกรรมเวทีหารือพหุภาคี เรื่องการสำรวจความก้าวหน้า SDGs ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567 : DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 มอบหมายให้นางศิริเพ็ญ ศรีสมโภชน์ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค เข้าร่วมประชุมหารือพหุภาคีผลการสำรวจความก้าวหน้า SDGs ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายบันดาล สถิรชวาลรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม ในการประชุมฯ มีการรายงานผลการสำรวจและวิเคราะห์SDG Servey ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยทีมงานสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)ซึ่งผลการสำรวจมึประเด็นที่ต้องเร่งดำเนินการ ดังนี้ 1. ขจัดความยากจน 2. การศึกษาที่มีคุณภาพ 3. การจ้างงานที่มีคุณค่ัาและเติบโตทางเศรษฐกิจ 4. พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ 5. ความสงบยุติธรรมและสถาบันเข้มแข็ง ซึ่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะนำประเด็นดังกล่าวมาจัดทำแผนการพัฒนาจังหวัดต่อไป
06 มี.ค. 2024
Diprom Center 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ร่วมงานพิธี “วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ”
วันที่ 2 มีนาคม 2567 : DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 มอบหมายให้กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค นำโดย นางปิยะรัตน์ วรสิงห์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ และ นางวริศรา ชาติทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เข้าร่วมงานพิธี “วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ” ประจำปีพุทธศักราช 2567 โดยมีนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มถวายสักการะพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็น "พระบิดาแห่งวันมาตรฐานการช่างไทย" และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ทรงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาฝีมือแรงงานของช่างไทยให้มีความเป็นมาตรฐาน ณ อาคารศูนย์กลางการประชุมสัมมนาภาคใต้ตอนบน ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
02 มี.ค. 2024
Diprom Center 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ร่วมหารือและประชาสัมพันธ์โครงการที่ทางหน่วยงานภาครัฐมีแผนในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการเข้าร่วม กิจกรรมทดสอบตลาด รวมถึงการเยี่ยมชมงานจัดแสดงสินค้า ณ เขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง ใน ปี พ.ศ.2567
วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 : DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี นายไดสึเขะ นากาจิมะ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด องค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (Hong Kong Trade Development Council หรือ HKTDC ) เข้าพบ นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการที่ทางหน่วยงานภาครัฐมีแผนในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบตลาด รวมถึงการเยี่ยมชมงานจัดแสดงสินค้า ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ใน ปี พ.ศ.2567 และหารือถึงความร่วมมือระหว่างองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกงและศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในนานาชาติและเสริมสร้างรายได้ในการส่งออกให้แก่ผู้ประกอบการ ในการนี้ ผอ.กลุ่มและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมรับฟังในภารกิจดังกล่าวด้วย
28 ก.พ. 2024
Diprom Center 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2567
วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 : DIPROM CENTER 10 สุราษฎร์ธานี นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 มอบหมายให้ นางศิริเพ็ญ ศรีสมโภชน์ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ในการประชุมฯ มีการมอบนโยบาย/ข้อสั่งการ การติดตามความก้าวหน้า รายงานผลการเบิกจ่าย ผลการดำเนินงานและวางแผนขับเคลื่อนงาน นโยบายสำคัญเร่งด่วนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
27 ก.พ. 2024
Diprom Center 10 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมพัฒนาการรวมกลุ่มและเขื่อมโยงอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์สมุนไพร) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ในหลักสูตร “การจัดทำแผนธุรกิจ”
21-22 กุมภาพันธ์ 2567นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมพัฒนาการรวมกลุ่มและเขื่อมโยงอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์สมุนไพร)จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ในหลักสูตร “การจัดทำแผนธุรกิจ” วัตถุประสงค์เพื่อ การดำเนินธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมองเห็นภายในกระดาษหนึ่งแผ่น เพื่อให้มองเห็นภาพของธุรกิจได้อย่างชัดเจนและครบทุกมิติภายในกระดาษแผ่นเดียว และจุดประสงค์ของการเขียนแผนธุรกิจอีกประการ คือ ใช้เพื่อนำเสนอความเป็นไปได้ของความสำเร็จสำหรับการลงทุน การระดมทุน หรือการขอกู้สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ หากเรามีแผนที่ละเอียด รอบคอบ ผู้ให้ความสนับสนุนพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับทราบถึงทิศทางการสร้างและค้นหาไอเดียธุรกิจองค์ประกอบทั้ง 9 ด้าน ของ Business Models Canvas ซึ่งในการฝึกอบรมฯ ดังกล่าวจะดำเนินการในระหว่าง วันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2567 ในการนี้มี วิทยากร คือ ดร.ขษิฐา พัฒนสิงห์ ดร.สารภี ชนะทัพ จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีและผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 15 คน ณ ห้องโพธิ์ทอง ชั้น 3 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานีแ
23 ก.พ. 2024
"ดีพร้อมโต" ผ่าน 4 กลไก “โตได้ โตไว โตไกล โตให้ยั่งยืน”
"ดีพร้อมโต" ผ่าน 4 กลไก “โตได้ โตไว โตไกล โตให้ยั่งยืน” กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ขานรับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าเปิดแผนเร่งยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ ปี 66 "ดีพร้อมโต" ผ่าน 4 กลไก “โตได้ โตไว โตไกล โตให้ยั่งยืน” มุ่งเน้นการยกระดับผู้ประกอบการและธุรกิจอุตสาหกรรมให้เติบโตด้วยกระบวนการทางธุรกิจที่เข้มข้น โดยตั้งเป้าพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจชุมชน และประชาชนกว่า 28,600 ราย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 7,500 ล้านบาท พร้อมขานรับนโยบายอุตสาหกรรมคู่ชุมชน สร้างโมเดลชุมชนดีพร้อม เชื่อมโยงและประสานประโยชน์ระหว่างภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และชุมชน มุ่งรักษาสมดุลการพัฒนาระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2566 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวโดยมีปัจจัยบวกจากการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัว ซึ่งจะส่งผลดีกับภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังจากความผันผวนของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดการชะงักงันหรือสะดุดของห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนวิกฤตพลังงานที่ราคายังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงกดดัน การบริโภคของภาคครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง และอาจลุกลามซ้ำเติมความเปราะบางทางการเงินให้กับประชาชนบางกลุ่ม อาทิ กลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อมและผู้มีรายได้น้อย โดยในปี 2566 นี้ ดีพร้อมได้นโยบาย "ดีพร้อมโต" มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมให้เติบโตด้วยกระบวนการทางธุรกิจที่เข้มข้น 4 กลไก ประกอบด้วย โตได้ (Start) เป็นกลไกที่ช่วยให้ประชาชนมีโอกาสเริ่มต้นธุรกิจและเติบโตเป็นผู้ประกอบการใหม่ในชุมชน สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยเกษตรอุตสาหกรรม และเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน โตไว (Speed) เป็นกลไกที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs เติบโตได้อย่างรวดเร็วด้วยการสร้างมาตรฐาน เพิ่มผลิตภาพ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และความคิดสร้างสรรค์ในการทำธุรกิจให้สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด โตไกล (Scale) เป็นกลไกเพิ่มประสิทธิภาพและขยายฐานการผลิตให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง เน้นการเปลี่ยนผ่าน (Transformation) สู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-curve) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสมัยใหม่ อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เพื่อขยายสู่ตลาดสากลและสุดท้าย โตให้ยั่งยืน (Sustainable) เป็นกลไกที่มุ่งสนับสนุนปัจจัยเอื้อที่ช่วยให้ธุรกิจยั่งยืน เข้าถึงมาตรการและความช่วยเหลือต่าง ๆ ของภาครัฐ พร้อมทั้งให้ความสำคัญต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ทั้งนี้ ตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมในปีนี้ มุ่ง "ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน" ดีพร้อมจึงต่อยอดแนวทางดังกล่าวโดยการพัฒนาโมเดลชุมชนดีพร้อม เพื่อเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและชุมชนให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ดังนี้ ค้นหาและบอกต่อ เฟ้นหาผู้นำทางธุรกิจต้นแบบที่ดำเนินธุรกิจร่วมกับสังคมโดยรอบอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นผู้นำทางธุรกิจที่มีศักยภาพในการพัฒนาและขับเคลื่อนการเติบโตทาง เศรษฐกิจรวมถึงเป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะ ในการช่วยเหลือชุมชนและสังคม ประสานประโยชน์ วางแผนเพื่อแสวงหาจุดดำเนินการร่วมระหว่างผู้นำทางธุรกิจ (DIPROM HERO) กับชุมชน โดยการประสานประโยชน์ต้องมีรูปแบบการได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เสริมแกร่ง เสริมแกร่งให้กลุ่มชุมชนตามหลักการอุตสาหกรรม อาทิ ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพด้วยเครื่องมือเครื่องจักร รักษาคุณภาพมาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มและทำการตลาดให้กับเครือข่าย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา รวมถึงสนับสนุนให้โมเดลชุมชนดีพร้อมมีความเข้มแข็งมากขึ้น ยกระดับ เป็นกระบวนการบ่มเพาะ “ผู้นำชุมชน” ให้เป็นนักธุรกิจเพื่อสังคม ยกระดับสู่การเป็นผู้นำทางธุรกิจ เพื่อต่อยอดและสร้างฮีโร่ทางธุรกิจรุ่นใหม่ ซึ่งจะเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนและขยายวงจรโมเดลชุมชนดีพร้อมไปในวงกว้าง ทำให้ธุรกิจอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังเสริม 4 กิจกรรมพิเศษ ที่จะเป็นตัวช่วยให้กับผู้ประกอบการ ได้แก่ ปฏิรูป DIPROM CENTER ให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการภาคธุรกิจ เช่น การเปิดพื้นที่จัดกิจกรรม “อุตสาหกรรมแฟร์” เพื่อจำหน่ายสินค้าคุณภาพดี ราคาเหมาะสม รวมถึงพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปที่สนใจประกอบธุรกิจ การพัฒนาช่องทางตลาดออนไลน์ (DIPROM Marketeer) ส่งเสริมการเข้าถึงและพัฒนาศักยภาพในการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการในช่องทางออนไลน์ของผู้ประกอบการแบบครบวงจร ตั้งแต่การฝึกอบรม การจัดพื้นที่สนับสนุนการค้าออนไลน์ การให้คำปรึกษาแนะนำ รวมถึงการจัดแสดงสินค้าในรูปแบบไฮบริด การพัฒนานักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม เพื่อสร้างผู้ให้บริการในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ สร้างงาน สร้างรายได้ ทำให้ชุมชนเข้มแข็งจากภายใน ปั้นดีพร้อมรุ่นเยาว์สู่ดีพร้อมที่ยอดเยี่ยม ภายใต้หลักสูตร DIPROM Young Elite Squad (DIPROM YES!) ซึ่งประยุกต์มาจากหลักสูตรพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมและรูปแบบการปฏิบัติงานของดีพร้อม เพื่อพัฒนาการให้บริการผู้ประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
30 มี.ค. 2023
DIProm CENTER10 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานของที่ปรึกษา ณ สถานประกอบการ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต กระบี่ และสุราษฎร์ธานี
วันที่ 19 - 22 กรกฎาคม 2565 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 พร้อมด้วยนางศิริเพ็ญ ศรีสมโภชน์ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค นางสาววรนาถ ด่านผดุงทรัพย์ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ และนายชัยฤทธิ์ สุขตะโก พนักงานขับรถ ลงพื้นที่เข้าติดตามประเมินผลโครงการ/กิจกรรมภายใต้การดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของ ศภ.10 กสอ. เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานของที่ปรึกษา ณ สถานประกอบการ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย????กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์: บริษัท เจ.ดี.พูลส์ จำกัด จากการเข้าร่วมกิจกรรมส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพิ่มขึ้น จากการพัฒนาระบบ เพื่อลดความผิดพลาดในการจัดสินค้า สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ลง 74.13% คิดเป็นมูลค่า 2,679,000 บาท ????กิจกรรมการประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการธุรกิจ: - เซ็กซี่บรา โดยผู้ประกอบการมีความต้องการใช้โมเดลดิจิทัล Checker Realtime นำอุปกรณ์ระบบ Scanner มาใช้ตรวจเช็คสินค้า เพื่อลดเวลาในการตรวจนับสินค้า ลดต้นทุนแรงงาน และเพิ่มยอดขาย ซึ่งขณะนี้ตรวจพบปัญหาในช่วงทดลองใช้งานและอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขเพื่อใช้งานจริงต่อไป- บริษัท วิยะเครป โปรดักส์ จำกัด มีการนำระบบ Power BI มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำข้อมูลและรายงานสรุปเพื่อนำเสนอทั้งในรูปแบบตารางและกราฟ โดยยังมีความต้องการในการฝึกอบรมเพิ่มเติม????กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือรูปแบบผลิตภัณฑ์: - วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางหวานพัฒนา จากการเข้าร่วมกิจกรรมได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ผงชงส้มควาย - วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบางโรง จากการเข้าร่วมกิจกรรมได้พัฒนาผลิตภัณฑ์โลชั่นครีมบำรุงสับปะรด และจะต่อยอดเป็นเซรั่มกับครีมกันแดดต่อไป????กิจกรรมส่งเสริม SMEs ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเชิงพาณิชย์ (Agro Genius SMEs): บริษัท เอสทีเค ออแกนิก จำกัด ซึ่งจากการเข้าร่วมกิจกรรมผู้ประกอบการได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เจลลี่กัมมี่มัลเบอร์รี่????กิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ (Product Design): วิสาหกิจชุมชน ศศินา หัตถศิลป์ชุมชน โดยจากการเข้าร่วมกิจกรรมได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าปาเต๊ะ ที่มีการออกแบบอย่างสวยงาม ทันสมัยและสามารถนำต้นแบบไปพัฒนาต่อยอดได้ ในภาพรวมผู้ประกอบการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ ศภ.10 กสอ. ดำเนินการ โดยส่งผลให้ผู้ประกอบการเกิดองค์ความรู้ มีประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนและระยะเวลาในการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ รวมทั้งมีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะ ประเด็นปัญหา และความต้องการที่ให้ ศภ.10 กสอ. หาแนวทางในการช่วยเหลือเพิ่มเติม ทั้งนี้ ทีม DIProm Center 10 จะหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบต่อไป
24 ก.ค. 2022
DIPROM CENTER 10 ชี้แจงกิจกรรมและประเมิน วินิจฉัยสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วม กิจกรรมเพิ่มศักยภาพธุรกิจให้ดีพร้อมในการบริหารจัดการออนไลน์อย่างเป็นระบบ จำนวน 5 กิจการ
???? วันที่ 20-22 กรกฎาคม 2565 : DIPROM CENTER 10 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ???? มอบหมาย นายเติมศักดิ์ เอี่ยนเหล็ง ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ และ นายวัฒนา บัวจีนตำแหน่ง พนักงานขับรถยนต์ ????เข้าร่วมชี้แจงกิจกรรมและประเมิน วินิจฉัยสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วม กิจกรรมเพิ่มศักยภาพธุรกิจให้ดีพร้อมในการบริหารจัดการออนไลน์อย่างเป็นระบบ จำนวน 5 กิจการ ได้แก่ ????1. บริษัท ตรังนทีทิพย์ จำกัด (แปรรูปพริกไทย) อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง ????2. หจก. มงคลชัยกุล (ผลิตซอสและซีอิ้ว) อ.เมืองจ.ตรัง ????3.บ้านยาสมุนไพรหมอเพียร (ยาสีฟันสมุนไพร) อ.เมือง จ.ตรัง ????4. ตรังวิลล่า รีสอร์ท แอนด์วอเตอร์ พาร์ค (โรงแรมที่พักและสวนน้ำ) อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ????5. ต้นน้ำ ออร์แกนิค (skill care และ hair care) อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรม โครงการ และประเมินศักยภาพของสถานประกอบการ ปัญหาด้านการตลาดเพื่อหาแนวทางในการเข้าไปให้การ ส่งเสริม พัฒนาศักยภาพในด้านระบบตลาดออนไลน์ให้กับสถานประกอบการ
23 ก.ค. 2022